omnia

คุณธรรม จริยธรรม ในการใช้สารสนเทศ

แนวโน้มทำให้เกิดประเด็นด้านจริยธรรม คือ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การละเมิดลิขสิทธิ์



จริยธรรมในสังคม

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น

2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น

3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย

5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ

6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์

7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่

8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน

9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน

10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ

11. ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์

12. ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน

13. ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา

14. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น

15. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร

16. คิดก่อนเขียน

17. อย่าใช้อารมณ์

18. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ

19. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน

20. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง

21. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

22. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่



สิทธิ

1.มีสิทธิ์ในเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ แต่ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร

2.อ่าน ฟัง คิด ได้ตามใจ




วิธีการปฏิบัติทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สิน ทางปัญญา เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญา ของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้หลายประเภท คือ ทรัพย์สินทางอตสาหกรรม ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า เครื่องหมายการค้า

สิทธิบัตรซอฟต์แวร์จะปกป้องผู้เขียนจากการคัดลอกและอ้างสิทธิในการเขียนซอฟต์แวร์ แต่สิทธิบัตรไม่ได้เกิดขึ้นอัตโนมัติ ผู้เขียนจะต้องร้องขอสิทธิบัตรในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค (เช่น สำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรป) เอง โดยที่ในสิทธิบัตรนี้จะต้องเปิดเผยวิธีการที่จะสร้างและใช้ซอฟต์แวร์ในระดับ ที่เพียงพอในระดับที่ผู้อื่นที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมนั้นสามารถจะ นำไปเขียนใหม่ได้โดยไม่ต้องทดลองใหม่ และใช้ซอฟต์แวร์ถ้าหากการใช้นั้นไม่ได้เป็นไปแบบชัดแจ้ง

ขณะที่ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นคุ้มครองทันทีโดยผู้เขียนไม่ต้องร้องขอเพื่อป้องกันการคัดลอกรหัสต้นฉบับ


จิตสำนึกในการใช้สารสนเทศ

1.ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

2.ไม่รบกวนคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น การปล่อยไวรัส หรือ ขโมยข้อมูลของผู้อื่น




ทำยังไงเมื่อคอมติดไวรัส

1. ทางธัมไดร์ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส Autorun คือ CPE17AntiAutorun

2. ทางอินเตอร์เน็ตแนะนำให้ใช้ firefox เปิดเว็บ แทน Internet Explorer